fbpx

นั่งทำงานทั้งวัน เคยปวด บ่า ไหล หลัง หรือปวดทั้งตัวบ้างไหม?

 

 

นั่งทำงานทั้งวัน เคยปวด บ่า ไหล หลัง หรือปวดทั้งตัวบ้างไหม?


Businessman suffering from backache at workplace Free Photo

เคยสังเกตไหม ทำไมบางคนสามารถนั่งทำงานได้ทั้งวัน? หากคุณเริ่มมีอาการปวดบ่า ไหล หรือบริเวณกล้ามเนื้อด้านหลัง นั้นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าท่าที่คุณนั่งทำงาน“ผิดท่า” ลองมาเช็ครายการท่านั่งทำงานที่ดีกันดูไหมว่าคุณจะได้กี่ข้อกัน

 
Correct sitting posture and incorrect. disease back pain. medical healthcare . office syndrome, businessman cartoon   illustration. Premium Vector

 

ท่านั่งทำงานที่ดีต่อสุขภาพ 
1.มีแผ่นรองข้อมือมาวางเมาส์ เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อข้อมือ
2.ปรับตำแหน่งหน้าจอคอมฯ ให้พอดีกับระดับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มหรือเงยบ่อยๆ
3.วางเก้าอี้กับโต๊ะให้ห่างกันพอดี ไม่ต้องโน้นตัวไปข้างหน้าบ่อยๆ
4.พยายามนั่งให้หลังชิดพนักเก้าอี้ทุกครั้ง ไม่นั่งหลังงงอ อาจเอาหมอนหรือผ้ารองหลังมาวางไว้เพื่อให้นั้งสบายขึ้น
5.เวลาพิมพ์งานหลังต้องตรง ข้อศอกตั้งงฉาก 90 องศา เพื่อไม่ให้เหยียดหรืองอมือบ่อยๆ
6.ปรับโต๊ะทำงานและเก้าอี้สูงพอเหมาะกับตัวเอง
7.ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าติดพื้น เวลานั่งให้สะโพกและขาตั้งฉากกัน
8.เก้าอี้สามารถปรับระดับความสูงและหมุนได้
แม้ว่าจะต้องนั้งทำงานทั้งวัน ควรเลี่ยงการนั่งแช่นานๆ และเปลี่ยนท่าเป็นระยะๆด้วย 
 
 
หลังจากเช็ครายการท่านั่งกันแล้วคุณได้ไปกี่ข้อกันละ หากพบว่าท่าที่คุณนั่งก็ถูกเกือบหมดทุกข้อ แต่ทำไมอาการเหล่านี้ยังเป็นอยู่  ลองมาสำรวจกันไหมว่าเก้าอี้ที่คุณนั่งอยู่ช่วยส่งเสริมการนั่งของคุณหรือไม่ เก้าที่ดีจะช่วยส่งเสริมการนั่งของคุณได้ 
 
 
เก้าอี้ที่เหมาะแก่การนั่งทำงาน
1.ปรับระดับความสูงได้ 
2.เบาะนั่งอาจปรับให้เอียงไปด้านหน้า – หลังได้ 
3.เบาะนั่งควรมีขนาดใหญ่โดยที่เมื่อนั่งเต็มก้นแล้วหลังพิงกับพนักพิงพอดี
4.เก้าอี้ควรมีที่พักแขนที่
5.เก้าอี้ควรมีพนักพิง จากระดับหลังส่วนล่างถึงส่วนบน โดยที่หลังส่วนล่างไม่ควรมีส่วนโค้งนูนมากจนดันหลังของผู้ใช้ หรือที่ผู้ใช้บางท่านเอาหมอนใส่เพิ่มขึ้นจนทำให้เวลาพิงมีแรงกดเกิดขึ้นที่หลังส่วนล่างอย่างเดียว หากจำเป็นที่ต้องใส่หมอนเพิ่มด้านหลังเนื่องจากเบาะนั่ง มีขนาดใหญ่และลึก ก็ให้ใส่โดยที่เมื่อนั่งพิงแล้วมีแรงกดที่หลังสม่ำเสมอไม่กดที่ใดที่หนึ่งมากเกินไป
6.เพื่อความมั่นคงเก้าอี้ ไม่ควรมีล้อเลื่อน หากจำเป็นล้อเลื่อนควรมีประมาณ 5 ล้อ หากน้อยกว่าอาจ ทำให้เก้าอี้ล้มได้ง่าย
 
 
หากคุณไม่อยากมีอาการเหล่านี้จนเกิดเป็นโรคเรื้อรังตามมา  เราแนะนำให้คุณลองหันมาใช้เก้าอี้เพื่อสุขภาพดูบ้างเพื่อช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพการนั่ง อาการเหล่านี้อาจจะดีขึ้นและคุณก็จะมีความสุขในการนั่งทำงานที่ยาวนานมากขึ้นก็ได้นะ